มะเดื่อฝรั่ง


ความเป็นมาของมะเดื่อฝรั่ง

ใน บรรดาผลไม้ที่เขียนไว้ในคัมภีร์ไบเบิลได้พูดถึงผลไม้ที่ชื่อ “มะเดื่อ ฝรั่ง” ไว้มากที่สุด บ้างก็ว่าเป็นผลไม้ที่ต้องห้ามโดยอ้างถึงอาดัมและอี ฟกินผลไม้ที่ต้องห้ามที่ชื่อว่ามะเดื่อฝรั่ง ทำให้เกิดอารมณ์กิเลสและตัณหา ต่างๆ จึงเกิดความรู้สึกอับอายต่อร่างกายที่เปลือยเปล่า ดังนั้น จึงได้ไป เด็ดเอาใบมะเดื่อฝรั่งมาปิดบังของสงวน ในพระคัมภีร์ยังบอกรายละเอียดถึงงาน เลี้ยงหรือการกินของคนในสมัยนั้น(ประมาณ 6,000ปีที่ผ่านมา) จะพูดถึงอาหาร หลักที่ประกอบไปด้วยขนมปัง น้ำผึ้งและผลมะเดื่อฝรั่ง เหมือนกับว่าในสมัย นั้นมีการบริโภคมะเดื่อฝรั่งเป็นชีวิตประจำวันชนิดหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น มี แหล่งที่ขุดพบซากต้นมะเดื่อพบว่าเกิดมานานไม่น้อยกว่า 5,000 ปี ก่อน คริสต กาล

ประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล เรื่องของมะเดื่อฝรั่ง มีเขียนไว้ในหนังสือ Badylomian Hymn ได้กล่าวขานถึงพระเจ้าแห่งกรีกพระองค์หนึ่งที่มีชื่อว่าดีมีเตอร์ ได้นำผลมะเดื่อมาเผยแพร่ให้คนได้รู้จักเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อเป็นภาษา อังกฤษว่า “FIG” และในขณะนั้นมะเดื่อฝรั่งได้ถูกจัดเป็นผลไม้ศักด็สิทธิ์ของประเทศ อียิปต์,กรีซและอิตาลีและอีกหลายประเทศในแถบเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อ
เจ้าของเมืองอัตติกา (Attica) ที่มีชื่อว่าโซลอน ได้มีการลักลอบนำต้นมะเดื่อฝรั่งออกมาจากประเทศกรีซมาปลูกที่เมืองอัตติกา เมื่อช่วงเวลาประมาณ 639-559 ก่อนคริสตกาล มะเดื่อฝรั่งเริ่มมีการปลูกแพร่หลายที่เมืองนี้ ต่อมากษัตริย์พระองค์หนึ่งของเปอร์เซียนมีนามว่า เซอร์เซส (Xerxes) ทำศึกรบชนะชาวกรีกที่เมืองซาลามิส (Salamis) เมื่อประมาณ 480 ปีก่อนคริสตกาลและในช่วงที่ชนะสงครามนั้นกษัตริย์เซอร์เซสได้รับประทานผล มะเดื่อฝรั่งที่ปลูกจากมืออัตติกาเป็นประจำทุกมื้อ
นอกจากนั้นยังมีกษัตริย์ชาวกรีกพระองค์หนึ่งที่มีชื่อว่าไมไทเดท (Mithridates) ได้ยกย่องมะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่เป็นยารักษาโรคได้หลายชนิดและยังสั่งให้ ประชาชนภายใต้การปกครองบริโภคมะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่เป็นยารักษาโรคหลาย ชนิดและยังได้สั่งให้ประชาชนภายใต้การปกครองบริโภคมะเดื่อฝรั่งเป็นประจำทุก วัน
** มะเดื่อฝรั่งได้ถูกจัดเป็นผลไม้สำคัญอีกชนิดหนึ่งสำหรับนักกีฬาโอลิมปิคใน สมัยเริ่มแรกที่มีการแข่งขันที่ประเทศกรีก และในสมัยนั้นได้มีการใช้มะเดื่อฝรั่งมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ชนะการแข่งขัน อีกด้วย
ในช่วงเวลาประมาณ 52-133 ปี ก่อนคริสตกาลได้มีนักเขียนโรมันชื่อดังท่านหนึ่งที่ชื่อว่า พลินี (Pliny) ได้พูดถึงคุณประโยชน์ของมะเดื่อฝรั่งไว้ว่า “เป็นผลไม้ที่ช่วยเสริมสร้าง ซ่อมแซม เพิ่มความแข็งแรงของเด็ก ถนอมสุขภาพ และเมื่อบริโภคเป็นประจำจะช่วยลดรอยเหี่ยวย่นทำให้ผู้บริโภคอ่อนวัยลง” หรือแม้แต่โหรชื่อดังในอดีตที่มีชื่อว่าโมฮัมเหม็ด (Mohammed) เคยอุทานออกมาว่า “ถ้าให้ตอนเองได้นำผลไม้ขึ้นสู่สวรรค์ได้ ผลไม้ชนิดนั้นจะต้องเป็นมะเดื่อฝรั่ง” ยังมีคำกล่าวถึงคุณประโยชน์ของมะเดื่อฝรั่งไว้อีกมากมายในอดีต
สำหรับคนไทยเมื่อพูดถึงผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า “มะเดื่อ” มักจะ นึกไปถึงผลมะเดื่อที่มีแต่ยางที่บริโภคไม่ได้ รู้จักแต่มะเดื่อป่า, มะเดื่ออุทุมพร (มะเดื่อชุมพร) ซึ่งเป็นไม้ป่าชนิดหนึ่งที่มีขนาดของต้นใหญ่มาก ในวารสาร “อภัยภูเบศรสาร” ที่ปี 5 ฉบับที่ 52 ประจำเดือนตุลาคม 2550 ได้บรรยายไว้ว่า “มะเดื่ออุทุมพร” (คำว่าอุทุมพร แปลว่ามะเดื่อในภาษาบาลี) บางพื้นที่เรียก “มะเดื่อชุมพร” เชื่อกันว่าเป็นที่มาของจังหวัดชุทพร ส่วนทางภาคอีสานจะเรียกว่า “เดื่อเกลี้ยง” ทางภาคใต้จะเรียก “เดื่อน้ำ” ซึ่ง มะเดื่ออุทุมพรนั้นถือเป็นไม้มงคลเป็นสมุนไพรที่เก่าแก่มาเป็นพันๆปี เล่ากันว่าพระพุทธเจ้าองค์ที่ 26 พระนามว่า พระโกนาคมนพุทธเจ้า ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ณ ควงไม้มะเดื่อ หลังทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 6 เดือนเต็ม มะเดื่อในตำนานของชาวฮินดูถือว่าเป็นไม้มงคล และเป็นที่นับถือของคนไทย พม่า มอญ มาแต่โบราณ คนไทยเชื่อว่าเป็นไม้มงคลที่สมควรปลูกประจำทิศเหนือโดยจะทำให้บ้านนั้นอุดม สมบูรณ์ ยอดอ่อนและผลอ่อนยังนำมารับประทานเป็นผัก ทั้งเป็นรูปผักสดกินกับน้ำพริกหรือกินกับขนมจีนน้ำยา แกงส้ม ยำ เป็นต้น
ประโยชน์ทางยาของมะเดื่อทุมพร คือ ราก ใช้ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไข้ออกตุ่ม แก้ไข้ที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต แก้ร้อน นอกจากนั้นยังใช้ฝนทารักษาเริมและงูสวัด เปลือกต้น ใช้ต้มข้าวน้ำชะล้างแผลรักษาแผลเรื้อรัง แก้ประดงผื่นคัน ใช้อมบ้วนปาก แก้เหงือกบวม ยางของมะเดื่อยังช่วยรักษาอาการปวดแสบปวดร้อนจากเริมหรืองูสวัด ในอินเดียเชื่อว่าในทุกส่วนของมะเดื่อมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด การศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า มะเดื่อมีฤทธิ์ลดการอักเสบแก้ปวด ลดไข้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อไวรัส คลายอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายโดยสารพิษซึ่งจะเห็นว่าการทดลองสมัยใหม่สนับสนุน การใช้ของคนโบราณ มะเดื่ออุทุมพรจึงเป็นสมุนไพรที่เราต้องช่วยกันอนุรักษ์ทั้งในฐานะของผัก พื้นบ้านสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือในฐานะของยาเย็นที่ช่วยแก้พิษร้อนทั้งในร่างการและผิวพรรณ และที่สำคัญมะเดื่ออุทุมพรให้ร่มเงาดีมากเป็นพืชที่มีความสามารถในการช่วย โลกร้อนได้ดีชนิดหนึ่ง
ในหนังสือ The exotic fruits of Malaysia ได้จัดให้มะเดื่อเป็นผลไม้แปลกและหายากชนิดหนึ่งของประเทศมาเลเซียและในราย ละเอียดเกี่ยวกับเรื่องมะเดื่อในหนังสือเล่มนี้ยังได้บอกว่าสายพันธุ์ของ มะเดื่อฝรั่งที่ปลูกกันมากทางแถบเอเชียตะวันตก, ยุโรปและสหรัฐอเมริกาไม่สามารถนำมาปลูกในประเทศมาเลเซียได้โดย มีความเชื่อว่าต้นมะเดื่อฝรั่งไม่สามารถปรับตัวเข้ากัยสภาพภูมิอากาศของ ประเทศไทยได้เพราะเป็นเมืองร้อน ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่ แต่สำหรับประเทศไทยแล้วมีตัวอย่างที่ยืนยันได้ว่ามะเดื่อฝรั่งปลูกและให้ผล ผลิตได้ดี
อย่างไรก็ตามมาเลเซียยังมีมะเดื่ออยู่สายพันธุ์หนึ่งที่มีลักษณะของใบมาก คนมาเลเซียเรียกต้นมะเดื่อว่า “อะรา” (ARA) เมื่อ ต้นเจริญเติบโตเต็มที่จึงมีความสูงของต้นเฉลี่ย 6-8 เมตร มีลำต้นสั้นกิ่งแผ่กว้างทึบ ทำให้ยอดพุ่มมีทรงรูปโดมมีน้ำยางข้นและเหนียว ใบเกิดสลับเป็นลักษณะใบเดี่ยวและไม่มีแฉกเหมือนกับใบมะเดื่อฝรั่ง ลักษณะของใบอ่อนจะมีสีเขียวเป็นมันวาวแซมชมภู เมื่อใบแก่จะมีขนาดของใบใหญ่มากและมีขนาดสีเขียวเข้ม ผลอ่อนของมะเดื่อมาเลเซียจะมีสีเขียวเมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสี น้ำตาลแดง แตดต่างจากมะเดื่อฝรั่งตรงที่ผลมีขนและดูไม่น่ารับประทาน เมื้อผ่าดูลักษณะภายในผลเนื้อจะมีสีขาวอมชมพู แต่เป็นที่สังเกตว่าถึงแม้จะผลไม่สวยแต่เมื่อได้รับประทานมีรสชาติอร่อย เฉพาะตัว มีกลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง
การปลูกมะเดื่อมาเลเซียในปัจจุบัน จะเน้นปลูก เพื่อใช้เป็นไม้ประดับ เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตเร็วและมีขนาดของใบใหญ่ โดยเฉพาะในระยะที่แตกใบอ่อนจะมีสีเขียวแต้มชมพูดูสวยงามมาก เหมาะในการจัดภูมิทัศน์อีกชนิดหนึ่งและใช้เป็นไม้ที่ให้ร่มเงาได้ดี ถ้าปลูกแบบระยะชิดหลายต้นบริเวณรอบๆ สระน้ำหรือบริเวณขอบบ่อจะสวยงามมาก มะเดื่อมาเลเซียจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้นอย่างน้อย 3 ปี และการออกดอกติดผลของมะเดื่อมาเลเซียจะเหมือนกับมะเดื่ออุทุมพรบ้านเราคือ ออกดอกบริเวณลำต้นหรือกิ่งใหญ่ ในแต่ละช่อให้ผลหนาแน่นมาก แต่ขนาดของผลมะเดื่อมาเลเซียมีขนาดใหญ่กว่ามะเดื่ออุทุมพรเท่าตัว (มะเดื่อมาเลเซียใหญ่พอๆกับมะเดื่อฝรั่ง) มะเดื่อมาเลเซียปลูกเจริญญเติบโตได้ดีในประเทศและส่วนใหญ่ใช้เป็นไม้ประดับ ยืนต้น

การปลูกมะเดื่อฝรั่งในประเทศไทย
“มะเดื่อ ฝรั่ง” หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “FIG” เป็นผลไม้ที่มีการปลูกเชิงพาณิชย์ อยู่ในหลายประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา, กรีก, ฝรั่งเศส, ตุรกี , อิตาลี ฯลฯ (คาดว่ามะเดื่อฝรั่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทางเหนือของประเทศ อิรักหรือประเทศตุรกี) แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก คนไทยที่เคยเดินทางเข้าไป ต่างประเทศ อาจจะได้เคยบริโภคมะเดื่ออบแห้งกันมาบ้าง ส่วนใหญ่ยังคิดกันไป ว่าผลไม้ชนิดนี้จะปลูกไม่ได้ในเมืองไทย ความจริงแล้วทางโครงการหลวงได้เคยมี การรวบรวมพันธุ์มะเดื่อฝรั่งมาทดลองปลูกที่ดอยอินทนนท์ จ.ชียงใหม่ ในอดีต เป็นเพียงแค่งานทดลองและศึกษาเรื่องสายพันธุ์ (ปัจจุบันทางโครงการหลวงได้มี การศึกษา, วิจัยและขยายพื้นที่ปลูกมะเดื่อฝรั่งมากขึ้น) และยังเชื่อกัน ว่า”มะเดือฝรั่ง” เป็นผลไม้กึ่งเมืองร้อนหรือภาษาอังฤกษเรียก ว่า “Subtropical” จะปลูกให้ประสบความสำเร็จได้ยากในประเทศไทยซึ่งเป็นเมือง ร้อน หรือถ้าปลูกจำเป็นจะต้องเลือกพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นพอสมควรหรือ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล เช่น พื้นที่บนดอย เป็นต้น ไม่เหมาะที่จะปลูกใน พื้นที่ราบที่มีอากาศร้อน
การปลูกมะเดื่อฝรั่งในประเทศไทย
“มะเดื่อ ฝรั่ง” หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “FIG” เป็นผลไม้ที่มีการปลูกเชิงพาณิชย์ อยู่ในหลายประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา, กรีก, ฝรั่งเศส, ตุรกี , อิตาลี ฯลฯ (คาดว่ามะเดื่อฝรั่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทางเหนือของประเทศ อิรักหรือประเทศตุรกี) แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก คนไทยที่เคยเดินทางเข้าไป ต่างประเทศ อาจจะได้เคยบริโภคมะเดื่ออบแห้งกันมาบ้าง ส่วนใหญ่ยังคิดกันไป ว่าผลไม้ชนิดนี้จะปลูกไม่ได้ในเมืองไทย ความจริงแล้วทางโครงการหลวงได้เคยมี การรวบรวมพันธุ์มะเดื่อฝรั่งมาทดลองปลูกที่ดอยอินทนนท์ จ.ชียงใหม่ ในอดีต เป็นเพียงแค่งานทดลองและศึกษาเรื่องสายพันธุ์ (ปัจจุบันทางโครงการหลวงได้มี การศึกษา, วิจัยและขยายพื้นที่ปลูกมะเดื่อฝรั่งมากขึ้น) และยังเชื่อกัน ว่า”มะเดือฝรั่ง” เป็นผลไม้กึ่งเมืองร้อนหรือภาษาอังฤกษเรียก ว่า “Subtropical” จะปลูกให้ประสบความสำเร็จได้ยากในประเทศไทยซึ่งเป็นเมือง ร้อน หรือถ้าปลูกจำเป็นจะต้องเลือกพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นพอสมควรหรือ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล เช่น พื้นที่บนดอย เป็นต้น ไม่เหมาะที่จะปลูกใน พื้นที่ราบที่มีอากาศร้อน ผู้เขียนเริ่มมีการศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่ม เติมถึงความเป็นไปได้ของการปลูกมะเดื่อฝรั่งเชิงพาณิชย์ จนทราบว่าในตลาดต่างประเทศ “มะเดื่อฝรั่ง” จัดเป็นผลไม้แปลกที่มีราคาแพง มีสายพันธุ์ที่หลากหลายโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ พันธุ์กินสด พันธุ์ทำแห้งและพันธุ์บรรจุกระป๋อง
ต่อมาผู้เขียนได้มีโอกาศไปดูงาน “แสดงพืชสวนนานาชาติ แปซิฟิก ฟลอรา 2004” จัดขึ้นบริเวณสวนสาธารณะ บริเวณทะเลสาบฮามานา วันที่ 17-21 กรกฎาคม 2547 นอกจากได้เข้าชมงานดังกล่าวแล้ว ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดโปรแกรมพาขณะผู้ดูงานเข้าชมอุทยานผลไม้เมืองฮา มามัตซึ ซึ่งเป็นแปลงปลูกผลไม้หลากหลายชนิดทั้งผลไม้เมืองร้อนและผลไม้เมืองหนาว หนึ่งในผลไม้เหล่านั้นมีโรงเรือนปลูกมะเดื่อฝรั่งอยู่หลายโรง ทีแรกไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมญี่ปุ่นจึงต้องปลูกมะดื่อฝรั่งในโรงเรือน(มาทราบทีหลังว่าต้นมะเดื่อไม่ชอบอากาศหนาวจัด จะต้องควบคุมอุณภูมิในช่วงฤดูหนาว)
สภาพที่เห็นจากการปลูกมะเดื่อฝรั่งในโรงเรือนของญี่ปุ่นนั้น ผู้เขียนได้เห็นระบบการปลูกและการตัดแต่งกิ่งซึ่งน่าจะประยุกต์มาใช้ในการ พัฒนาการปลูกมะเดื่อฝรั่งของบ้านเราในอนาคตได้ รูปแบบของการตัดแต่งกิ่งมะเดื่อฝรั่งจะมีการตัดแต่งให้มีการขนานกับพื้นดิน ดูเหมือนคล้ายกับเถาองุ่น ต้นมะเดื่อจะมีการตัดยอดตั้งแต่เริ่มปลูกเพื่อให้เกิดกิ่งแขนงแยกออกมาและ คัดกิ่งที่มีความแข็งแรงและสมบูรณ์เพียง 2 กิ่งหลักเท่านั้น ทำการจัดกิ่งให้ขนานกับพื้นดิน จากสิ่งที่เห็นในวันนั้นเห็นได้ว่าการตัดแต่งกิ่งเป็นหัวใจสำคัญของการปลูก มะเดื่อฝรั่ง
การออกดอกการติดผลของมะเดื่อฝรั่งในแต่ละรุ่น จะเกิดขึ้นมาตามหลังการตัดแต่งกิ่ง ซึ่งภาษาอังฤกษจะใช้ สแกนของการปลูกมะเดื่อฝรั่งว่า “No leaf No fruit” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า “ไม่มีใบจะไม่มีผล” ในแปลงปลูกมะเดื่อฝรั่งที่ญี่ปุ่นนั้น กิ่งและใบมะเดื่อที่แตกออกมาใหม่นั้นจะติดผลทุกข้อของใบ เป็นที่สังเกตว่าต้นมะเดื่อฝรั่งที่ปลูกอยู่ในโรงเรือนนั้นมีอายุอย่างน้อย ไม่ต่ำกว่า 10 ปี จะมีกิ่งแขนงหลักที่ขนานไปกับพื้นเพียง 2 กิ่งหลักเท่านั้นและกิ่งจะอยู่สูงกว่าพื้นดิน 50 เซนติเมตร โดยประมาณ สำหรับกิ่งย่อยที่แตกออกมาจะมีผลทุกกิ่งจะมีเชือกโยงไว้กับหลังคาโรงเรือน เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จจะทำการตัดแต่งกิ่งทิ้งเพื่อให้แตกกิ่งออกมาใหม่
ผู้เขียนยังได้สำรวจการค้าขายมะเดื่อฝรั่งในซุปเปอร์มา เก็ตหลายแห่งญี่ปุ่น ซึ่งมีทั้งบริโภคสดและอบแห้ง มะเดื่อสดขายถึงผู้บริโภคผลละเฉลี่ย 100 บาท มีน้ำหนักผลประมาณ 100 กรัม(1ขีด) จะต้องยอมรับในขณะนั้นว่ามะเดื่อผลสดที่ซื้อมารับประทานนั้นมีลักษณะของผลสี เขียว, ผลมีขนาดใหญ่มากแต่รสชาติไม่อร่อยเท่าที่ควรคือไม่หหวาน ในขณะนั้นเพียงแต่มีข้อมูลว่ามะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และเป็นผลไม้ที่มีธาตุโซเดียมและคลอเรสเตอรอล ดังนั้นในการโฆษนาขายมะเดื่อฝรั่งในตลาดต่างประเทศจึงมักใช้สโลแกนที่เป็น ภาษาอังกฤษที่ว่า “No Sodium No Cholesterol” ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ก่อนเดินทางกลับจากดูงานในประเทศญี่ปุ่นในครั้งนั้น ได้มีโอกาศไปเที่ยวชมเนอสเชอรี่แห่งนั้นมีต้นมะเดื่อฝรั่งวางขายอยู่ด้วยและ เป็นต้นไม้ที่มีราคาแพงมากที่สุดในร้าน คือ ขายในราคาต้นละประมาณ 1,500 บาท คนญี่ปุ่นจะเรียกมะเดื่อฝรั่งว่า “อิชิ-คุ” ผู้เขียนได้ตัดสินใจซื้อต้นมะเดื่อญี่ปุ่น (เป็นมะเดื่อฝรั่งสายพันธุ์หนึ่งในขณะนั้นไม่ทราบว่าชื่อพันธุ์อะไร) มาต้นหนึ่งโดยเอาดินออก ล้างจนเปลือยราก และตัดใบออกหมด ครั้งแรกไม่คิดว่าต้นจะรอดตายเหมือนกัน แต่เมื่อมาถึงเมืองไทยได้นำต้นมาปักชำที่แปลงเพาะชำมาเผยแพร่ความรู้ทางการ เกษตรที่ จ.พิจิตร ปรากฏว่าเวลาผ่านไป 2 อาทิตย์โดยประมาณต้นมะเดื่อญี่ปุ่นที่นำมาจากประเทศญี่ปุ่นนั้นเริ่มผลิใบ อ่อนออกมา
เมื่อใบอ่อนผลิออกมามากพอสมควรคิดว่าต้นรอดตายแน่แล้ว จึงได้นำต้นมะเดื่อญี่ปุ่นต้นนั้นไปปลูกลงแปลงทดลองของชมรมฯ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2547 ซึ่งสภาพพื้นที่ปลูกเป็นสภาพไร่ที่เคยปลูกอ้อยและข้าวโพดมาก่อน ที่สำคัญเป็นพื้นที่ราบเหมือนพื้นที่การเกษตรในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง สภาพภูมิอากาศร้อน ไม่มีอากาศหนาวเย็นเหมือนภาคหนือตอนบน ผลปรากฏว่า ต้นมะเดื่อแตกใบอ่อนและเจริญเติบโตได้ดี มีการแตกกิ่งออกมาใหม่พร้อมกับการออกดอกและติดผลเหมือนกับการติดที่ญี่ปุ่น ในขณะนั้นสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้เขียนมากพอสมควร เนื่องจากไม่มั่นใจตั้งแต่แรกแล้วว่า ผลไม้ชนิดนี้จะนำมาปลูกในพื้นที่ราบ ที่อากาศไม่หนาวไม่น่าจะได้ผลดี
เมื่อปล่อยให้ต้นมะเดื่อฝรั่งเลี้ยงผลไปได้ระยะ เวลาหนึ่งจนเห็นบริเวณก้นผลมีสีแดง ผลน่าจะแก่และเก็บเกี่ยวได้แล้ว จึงได้ทดลองเก็บผลมารับประทานปรากฎว่ารสชาติไม่อร่อยจืดชืด ในขณะนั้นคิดไปว่าได้สายพันธุ์ที่ไม่เหมาะสมมาปลูกและไม่น่าจะผลดี ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงนั้นเมื่อระยะผลแก่ได้เข้าสู่ช่วงฤดูหนาวของปลายปี พ.ศ 2547 พอดี พบปัญหาใบมะเดื่อฝรั่งแห้งกรอบคล้ายกับโรคราสนิม ได้ทดลองฉีดพ่นยาป้องกันและกำจัดโรควัชพืชหลายชนิดอยู่หลายครั้งก็ไม่หาย มาทราบทีหลังว่าเป็นการผลัดใบของตนมะเดื่อเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว
ต้นมะเดื่อญี่ปุ่นที่นำมาปลูกในแปลงได้ทำตาข่ายพลางแสง 50% โดยเชื่อในครั้งนั้นว่าเป็นต้นมะเดื่อญี่ปุ่นไม่ชอบแสงแดดโดยตรง ในช่วงฤดูหนาวใบมะเดื่อร่วงหล่นเกือบหมดทั้งต้น ตั้งแต่นั้นมาได้ยกเลือกการฉีดพ่นสารเคมีทุกชนิด แล้วปล่อยตามธรรมชาติแต่มีการให้น้ำเหมือนกับต้นไม้อื่นๆ ตาข่ายพลางแสงรื้อออกทั้งหมดเนื่องจากต้นมะเดื่อฝรั่งสามารถปลูกกลางแจ้งและ รับแสงได้เต็มที่
เมื่อหมดฤดูหนาวพบว่าในช่วงเดือนกุมพาพันธ์ พ.ศ 2548 ต้นมะเดื่อญี่ปุ่นกันนั้นเริ่มมีกิ่งแตกออกมาใหม่เป็นจำนวนมากพร้อมกับติดผล และไม่ได้มีการฉีดพ่นสารเคมีทุกชนิดเพียงแต่มีการให้ปุ๋ยคอกเพื่อปรับปรุง โครงสร้างของดินมากเป็นพิเศษ และไม่ได้ให้ความสนใจเหมือนตอนเริ่มปลูกใหม่ๆ ปล่อยให้ผลมะเดื่อฝรั่งแก่จนผิวเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเข้ม และเป็นมะเดื่อญี่ปุ่นผลแรกที่สุกคาต้นมีนกมากัดกินไปส่วนหนึ่ง ได้ทอลองรับประทานส่วนที่เหลือ ผลปรากฎว่ามีรสชาติหวานอร่อยมาก
ความสนใจในการปลูกมะเดื่อฝรั่งเริ่มกลับมาอีกครั้ง หนึ่ง ผู้เขียนได้รีบไปค้นเอกสารที่เป็นภาษาญี่ปุ่นที่เป็นคำแนะนำที่ติดมาพร้อม กับต้นมะเดื่อเมื่อตอนที่ซื้อกิ่งพันธุ์มาจากญี่ปุ่นและได้รับความกรุณาจาก ดร.เรวัต เลิศฤทัยโยธิน จากภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งเป็นเพือนร่วมรุ่นกับผู้เขียนเมื่อสมัยเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ด้วยกัน และจบปริญญาเอกจากประเทศญี่ปุ่นได้กรุณาช่วยแปลให้ จึงได้ทราบว่า “ต้นพันธุ์มะเดื่อญี่ปุ่นที่ได้รับมานั้นเป็นเพื่อการบริโภคสด จะต้องปล่อยให้ผิวผลเปลี่ยสีจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลจึงจะเก็บมาบริโภคได้” หลังจากนั้นมาผลมะเดื่อญี่ปุ่นได้ทยอยกันแก่ ปัจจุบันต้นแม่พันธุ์ยังมีชีวิตอยู่และอายุประมาณ 4 ปี (พ.ศ 2551) ยังให้ผลผลิตที่มีรสชาติอร่อยมาก
ผู้เขียนยอมรับว่ามะเดื่อญี่ปุ่นต้นนี้ได้เหมือนกับโรงรียนที่ให้ความรู้ เรื่องของการปลูกมะเดื่อฝรั่งของบ้านเราหลายประการ อาทิ ความเชื่อที่ว่ามะเดื่อฝรั่งเลือกพื้นที่ปลูกนั้นหมดไป เพราะเห็นการเจริญเติบโตของต้นแล้วหลายคนที่มาเห็นบอกว่าเจริญเติบโตได้เร็ว มาก อายุต้นประม๊ณ 1 ปี จะให้ผลผลิตตลอดฤดูไม่น่าจะต่ำกว่า 100 ผล ผู้เขียนได้พยายมศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับโรคและแมลงศัตรู มะเดื่อฝรั่งไม่เคยฉีดพ่นสารเคมีมานานตั้งแต่หมดฤดูหนาวเป็นต้นมา จะเป็นห่วงก็เพียงนก, แมลงวันทองและมดเท่านั้น
ความมหัศจรรย์อีกประการหนึ่งที่เห็นได้จากมะเดื่อต้นนี้คือ เมื่อผลที่ใกล้แก่และเปลี่ยนสีจากผลที่มีผิวสีเขียวไปเป็นสีน้ำตาลแดงจะใช้ เวลาเพียง 2-3 วัน และขนาดของผลมะเดื่อจะขยายใหญ่กว่าเดิมเท่าตัว ดังนั้นเมื่อผลมะเดื่อญี่ปุ่นเริ่มเปลี่ยนสีจึงได้นำเอาถุงพลาสติกก๊อบแก๊บ ไปห่อ (ตัดขอบก้นถุงออก สอวข้างเพื่อระบายอากาศและน้ำ) ที่ผลหลังจากนั้น 2-3 วัน ก็เก็บผลผลิตมาบริโภคได้ ตั้งแต่เริ่มเก็บผลผลิตมายังไม่พบการทำลายของแมลงวันทองเลยแม้แต่ผลเดียว ทำให้เห็นได้ว่าในอนาคตปลูกมะเดื่อญี่ปุ่นพันธุ์นี้เชิงพาณิชย์สามารถผลิต แบบปลอดสารพิษได้
หลังจากนั้นมาทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้ทำ การรวบรวมสายพันธุ์มะเดื่อฝรั่งมากกว่า 10 สายพันธุ์ และได้คัดเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็ว, ดก และมีรสชาติที่ดี ได้สายพันธุ์มะเดื่ออย่างน้อย 5 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ญี่ปุ่น, พันธุ์บราวน์ตุรกี, พันธุ์ออสเตรเลีย, พันธุ์ดอร์ฟิน และ พันธุ์แบล็คมิชชั่น เป็นต้น ว่าแต่ละสายพันธุ์มีรสชาติอร่อยทั้งสิ้นและได้ขยายพื้นที่ปลูกเชิงพาณิชย์ ให้ผลผลิตเริ่มส่งขายตลาดได้แล้วรวมทั้งสายพันธุ์สามารถนำมาอบแห้งได้ผล มะเดื่ออบแห้งที่มีคุณภาพดีไม่แพ้มะเดื่อแห้งอบจากต่างประเทศ
ข้อดีของมะเดื่อฝรั่ง
เมื่อได้ศึกษาจากการปลูกมะเดื่อฝรั่งอย่างจริงจังกับพบว่าเป็นผลไม้อีกขนิด หนึ่งที่น่าปลูกและควรส่งเสริมให้การเกษตรมีการขยายพื้นที่ปลูกในอนาคต โดยสรุปถึงความน่าปลูกของลูกมะเดื่อฝรั่งดังต่อไปนี้
1.เป็นผลไม้ที่ให้ผลผลิตเร็ว
โดยปกติแล้วกิ่งพันธุ์มะเดื่อฝรั่งที่มีการซื้อ-ขายกันในปัจจุบันจะเป็น ประเภทกิ่งตอน ราคาซื้อ-ขายกิ่งพันุ์มะเดื่อฝรั่งจะมีราคาเฉลี่ยกิ่งละ 500 บาท เมื่อนำต้นมะเดื่อกิ่งตอนมาปลูกลงแปลงหรือบางสายพันธุ์ปลูกในกระถางได้ จะให้ผลผลิตเมื่อต้นมีอายุเพียง 5-6 เดือนหลังจากการปลูกลงดิน
2.ไม่พบปัญหาเรื่องไม่ออกดอกติดผล
สายพันธุ์มะเดื่อฝรั่งเกือบทั้งหมดที่มีการนำมาปลูกในบ้านเราขณะนี้ไม่พบ ปัญหาเรื่องของการไม่ออกดอกและติดผล กล่าวคือเมื่อนำมาปลูกมั่นใจได้ว่าได้ผลผลิตอย่างแน่นอนเพียงแต่คัดเลือกสาย พันธุ์ที่เหมาะสมเท่านั้น
3.จัดเป็นผลไม้แปลกและหายาก
คนที่ไม่เคยทานมะเดื่อฝรั่งทุกคนมักจะคิดว่าเป็นผลไม้ไม่อร่อย เนื่องจากยังคิดกับภาพมะเดื่อพื้นบ้านหรือมะเดื่อป่าของไทยที่ผลมีแต่ยางและ บางครั้งก็มีหนอนอนู่ในผล ซึ่งความจริงแล้วมะเดื่อฝรั่งจัดเป็นผลไม้ที่รู้จักเท่านั้นเอง กรณที่มะเดื่อญี่ปุ่นที่ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรนำสายพันธุ์มาจาก ญี่ปุ่นมาปลูกในแปลงทดลองของชมรมฯ ที่ จ.พิจิตร รสชาติอร่อยมาก กล้ายืนยันได้ว่าอร่อยกว่ามะเดื่อฝรั่งสดที่วางขายในหลายประเทศ ดังนั้นเกษตรกรมีหัวก้าวหน้าและกล้าตัดสอนใจลงทุนปลูกผลไม้ชนิดนี้เพื่อที่ จะมีคู่แข่งด้านการตลาดในช่วงแระอยย่างแน่นอน
4.เป็นผลไม้ที่บริโภคเป็นอาหารและยา
มีข้อที่เป็นวิชาการและยอมรับกันทั่วโลกว่ามะเดื่อฝรั่งมีคุณค่าทางอาหารสูง มาก โดยเฉพาะปริมาณของธาตุแคลเซียม, ไม่มีธาตุโซเดียมที่เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นในผลไม้ที่ไม่มีคลอเรสเตอรอล ในบางตำราถึงกลับบอกว่าถ้ามีการบริโภคมะเดื่อฝรั่งเป็นประจำจะช่วยป้องกัน โรคนิ่วในไต,ป้องกันโรคกระเพาะปัสวะอักเสบและยังช่วยฟอกตับและม้าม หลายคนทราบดีว่าปัจจุบันคนไทยหันมารักษาสุขภาพกันมากขึ้น ตลาดผลไม้สุขภาพจึงมีการเจริญเติบโตมากอย่างต่อเนื่อง
5.มะเดื่อฝรั่งนำมาปลูกในระบบปลอดสารพิษได้
ถึงแม้มีข้อมูลในต่างประเทศว่ามะเดื่อฝรั่งมีศัตรูระบาดทำลายอยู่หลายชนิด แต่ยังจะได้จัดว่าน้อยกว่าผลไม้เศรษฐกิจหลายชนิดที่จะต้องมีการฉีดพ่นสาร ปราบศัตรูพืชเป็นประจำ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้จากการศึกษาและปฏิบัติจริงกับการปลูกมะเดื่อ ฝรั่งมานาน 4 ปี ช่วงปลูกเริ่มแรกด้วยความไม่รู้และความกลัวมีการจัดตารางฉีดพ่นยาปราบศัตรู พืชเป็นประจำทั้งสารฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อรา สุดท้ายก็เลิกฉีดพ่นทั้งหมอเนื่องจากพบว่าศัตรูที่สำคัญมีเพียงมดและนกเท่า นั้น ซึ่งหาวิธีการป้องกันได้ไม้ยาก สำหรับปัญหาเรื่องแมลงวันทองจะใช้วิธีการห่อผลในช่วงที่ผลเริ่มเข้าสีเพียง 2-3 วันเท่านั้น

การขยายพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง
มะเดื่อฝรั่งสามารถขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนได้ทั้งการปักชำ การตอนกิ่ง และการต่อยอด ซึ่งมีรายละเอียดและวิธีการทำดังนี้
การตอนกิ่งมะเดื่อฝรั่ง :
การตอนกิ่งเป็นการขยายพันธุ์ที่น่าจะเหมาะสมกับมะเดื่อ ฝรั่งมากที่สุด เพราะกิ่งมะเดื่อฝรั่งลอกเปลือกง่ายและออกรากเร็วใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือนก็แตกรากแล้ว การเลือกกิ่งควรเลือกกิ่งที่ตั้งตรง กิ่งไม่อ่อนและไม่แก่เกินไป ดูจากลักษณะกิ่งที่มีสีน้ำตาลเข้ม เส้นผ่าน 0.5 นิ้ว กิ่งยาว 50-100 เซนติเมตร วิธีตอนเหมือนตอนกิ่งไม้ทั่งๆไป ควั่นและขูดเนื้อเยื่อให้หมด หุ้มด้วนขุยมะพร้าว มัดตุ้มให้แน่น
อุปกรณ์ที่ใช้ตอนกิ่ง
1.มีดคมสะอาด หรือใช้มีดขยายพันธุ์พืช
2.ตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวอดใส่ถุงพลาสติก 4 นิ้ว x 6 นิ้ว)
3.เชือก, ปอฟาง ไว้มัดตุ้ม
4.กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
วิธีการตอนกิ่ง
1 .เลือกกิ่งที่แก่ที่สมบรูณ์ และกิ่งที่ตั้งตรง
2 .ใช้มีดควั่นลอกเปลือกออก
3.ขูดเนื้อเยื่อออกให้หมด
4.นำตุ้มตอนผ่าตามยาวหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน
5.มัดตุ้มตอนให้แน่นด้วยเชือกฟาง 2 เปาะ
6.หลังตอนกิ่งประมาณ 20 วัน รากเริ่มงอกออกมาให้เห็นรากมากพอ จึงตัดกิ่งตอน
7.กิ่งตอนชำในตู้อบ 10 วัน จะช่วยให้ต้นไม้แข็งแรง รากเดินเร็วขึ้น
** การตอนกิ่งมะเดื่อฝรั่ง ใช้หลักการและวิธีการเดียวกันกับการตอนกิ่งทั่วไป
หลังจากตอนกิ่ง 20 วันจะเห็นรากแทงออกมา รอจนให้รากมีมากพอจึงค่อยตัดออกมา ควรมีตู้อบซึ่งสำคัญมาก จะช่วยการรอดตายสูง เข้าตู้อบประมาณ 10 วัน ทำให้รากแข็งแรงเดินเร็วขึ้น ช่วงเข้าตู้อบควรใส่ถุงเข้าให้เรียบร้อยเมื่อออกจากตู้อบควรพักไว้ที่ร่ม รำไร 20 วัน สังเกตดูว่ากิ่งชำแข็งแรงก็สามารถนำไปปลูกในแปลงได้
การปักชำกิ่งมะเดื่อฝรั่ง :
การปักชำเป็นวิธีง่ายและสะดวกมาก ทำได้จำนวนมาก แต่การชำมักได้ผลไม่มากนัก ถ้ามีกิ่งชำจำนวนมากก็ไม่ต้องเสียดาย เพราะส่วนมากจะพบปัญหากิ่งชำเน่าก่อน เปอร์เซ็นการอดอาจจะไม่ถึง 50 เปอร์เซ็น การปักชำควรทำในฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนกันยายน เคล็ดลับที่สำคัญอย่าเร่งปุ๋ยต้นแม่พันธุ์จนงามเกินไปเมื่อตัดกิ่งไปปักชำ มักจะเหี่ยวแห้ง ดังนั้น จึงควรบำรุงต้นให้สมบูรณ์ก็เพียงพอ
การคัดเลือกกิ่งที่จะนำมาปักชำควรเลือกกิ่งแก่ ห้ามใช้กิ่งอ่อนโดยเด็ดขาด ดูกิ่งที่ตั้งตรงยอกสมบรูณ์ ไม่มีโรคและแมลงรบกวน ริดก้านใบให้หมดแล้วนำมาตัดเป็นท่อนๆ ยาว 6-10 นิ้ว จุ่มด้วนน้ำยาเร่งรากประมาณ 10 นาที นำไปปักบนกระถาง ภายในตาข่ายพลางแสง วัสดุชำให้แกลบดำผสมทรายหยาบ รดน้ำให้ชุ่ม แต่ไม่ควรรดน้ำบ่อยจนเกินไปทำให้กิ่งเน่าง่าย หลังปักชำ 1 สัปดาห์ ถ้าต้นยังสดอยู่มีแนวโน้มรอดตายทิ้งไว้ 15 วัน ตาใบจะเริ่มแตกรอให้ใบแตกอย่างน้อย 4-5 ใบ เพราะใบช่วงแตกใบรากจะเริ่มแตกตามค่อยย้ายลงในถุงชำ วัสดุชำควรระบายน้ำง่ายไม่อุ้มน้ำเกินไป ควรใช้ดินร่วน, ปุ๋ยหมักและแกลบดิน หรือใช้ดินผสมใช้ปลูกไม้ประดับที่มีใบฉำฉาเป็นส่วนประกอบจะช่วยได้มาก
ขั้นตอนการปักชำกิ่งมะเดื่อฝรั่ง
1.ใช้กรรไกรริดก้านใบออกให้หมดป้องกันการคลายน้ำ
2.การตัดกิ่งออกเป็นท่อนๆ ยาว 6-10 นิ้ว ยอดหนึ่งตัดเป็นกิ่งได้ประมาณ 3 ท่อน
3.ปักชำในวัสดุชำเฉียง 60 องศา กดบริเวณโคลนกิ่งให้แน่น รดน้ำครั้งแรงให้ชุ่ม
4.หลังปักชำ 1 สัปดาห์จะเริ่มแตกตุ่มตาใบ ทิ้งไว้อีก 15 วัน รอรากแตกออกมา
การต่อยอดมะเดื่อฝรั่ง
การต่อยอดมะเดื่อฝรั่งมีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาให้ ระบบรากมีความแข็งแรงโดยมีรากแก้ว ใช้ต้นต่อมะเดื่อป่าหรือเพื่อทำมะเดื่อแฟนซี คือมีหลากหลายสายพันธุ์ในต้นเดียวกัน แต่ควรเลือกพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตพอๆกัน เพื่อให้การเจริญเติบโตที่สมดุลย์กันทุกพันธุ์ แต่ไม่ควรจะเสียบพันธุ์มากเกินไป ต้นหนึ่งๆควรมี 2-3 สายพันธุ์
การเปลี่ยนยอดมะเดื่อสามารถเปลี่ยนในแปลงปลูกได้ โดยการปลูกมะเดื่อป่าลงในแปลงปลูกก่อนแล้วค่อยนำยอดเข้าไปเปลี่ยนภายหลัง หรืออาจจะเปลี่ยนมะเดื่อฝรั่งจากพันธุ์ที่เราไม่ต้องการแล้ว ในกรณีที่พันธุ์ใหม่ที่มีดีกว่าเดิม ปัจจุบันสายพันธุ์มะเดื่อฝรั่งที่ปลูกในเมืองไทยมีจำนวนมาก
ต้นที่เหมาะสำหรับเปลี่ยนยอดควรเป็นต้นต่อที่เลี้ยงไว้อย่างน้อย 1 ปี มีความแข็งแรง เจริญเติบโตเต็มที่ เมื่องจากต้นมะเดื่อฝรั่งลอกเปลือกง่ายเหมาะที่สุด ช่วงฤดูที่เหมาะสมควรทำช่วงต้นฤดูฝนถึงปลายฝน สามารถทำได้หลีกเลี่ยงเรื่องฝนชุกมากเกินไป อาจพบปัญหายอดเน่าบ้างก่อนที่แผลจะติด
** กรณีการเปลี่ยนแปลงต้นมะเดื่อฝรั่งแฟนซี ควรเตรียมต้นต่อให้มีหลายกิ่ง โดยการตัดยอดต้นต่อก่อนครบ 1 ปี เพื่อให้แตกยอดหลายกิ่ง และคัดเลือกไว้ประมาณ 3-4 กิ่ง เมื่อครบปีไปแล้วจะได้กิ่งนำที่แตกมาใหม่แล้วบำรุงให้ต้นต่อสมบูรณ์ ค่อยนำพันธุ์ที่ต้องการเปลี่ยนยอดและพันธุ์จะได้ทรงพุ่มที่สวย ถ้าเปลี่ยนเพียงพันธุ์เดียวสามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะสามารถเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ที่สุดเพียงกิ่งเดียว การเปลี่ยนแปลงมะเดื่อฝรั่งแฟนซีควรเปลี่ยนยอดระดับเดียวกันจึงจะขึ้นพุ่ม พร้อมๆ ออกดอกติดผลใกล้เคียงกัน
การต่อยอดแบบลอกเปลือก (เสียบข้าง)
ควรเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ ถ้ากิ่งไม่ตั้งตรงควรทำด้ารบนของกิ่ง โดยใช้มีดกรีดขวางยาว 1 เซนติเมตรและกรีดขนาดเป็น 2 รอย ยาวลงมา 1.5 นิ้ว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลอกเปลือกออก ระวังอย่าให้รอยแผลซ้ำ ตัดขวางด้านล่างเว้นไว้เป็นลิ้นคอยรับยอดเล็กน้อย ยอดพันธุ์ปาดรูปฉลามด้านหนึ่งยาวอีกด้านหนึ่งสั้น เสียบยอดพันธุ์ดีลงไป ใส่พลาสติกพันจากล่างขึ้นบน พันมิดยอดและพันรัดด้านบนให้แน่น ไม่ให้น้ำซึมเข้าแผลได้
หลังจากต่อยอดได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้ายอดยังเขียวอยู่แสดงว่ามีโอกาสติดสูง ปล่อยไว้จึงสังเกตยอดพันธุ์ดีปลิดยอดออกมา แล้วค่อยเปิดแปลด้านบนเพียงเล็กน้อย ช่วยให้ยอดแทงออกมา ถ้าเปิดที่เดียวหมดอาจทำให้ยอดโดนแสงแดดทำลาย ยอดปรับตัวไม่ทันอาจแห้งตายได้
วิธีการต่อยอดแบบเสียบข้าง
1.เตรียมต้นต่อมะเดื่อป่า บำรุงให้เต็มที่เพื่อรับยอดที่จะเสียบ (กิ่งจะมีสีน้ำตาลเข้ม)
2.ใช้มีดที่คมสะอาดกรีดและลอกเปลือกอย่าระมัดระวัง อย่าให้ช้ำ แผลคล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ควรทำแผลด้านบนของกิ่ง
3.รอยแผลจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
4.เลือกยอดที่กำลังเจริญเติบโตกิ่งอวบอ้วนสมบูรณ์ ยอดควรยาว 3-4 นิ้ว ริดก้านใบออก
5.ใช้มีดคมสะอาดปาดรอยแผลให้เรียบ ด้านหนึ่งยาวอีกด้านหนึ่งสั้น
6.เสียบยอดพันธุ์ลงบนรอยแผลของต้นต่อพันด้วยพลาสติกใส ให้แน่น ปิดมิดยอดป้องกันคายน้ำ
7.พันพลาสติกให้มิดยอดด้านบนควรรัดพันให้แน่นกันน้ำเข้า
8.หลังจากต่อยอด 3 เดือน จะได้กิ่งสายพันธุ์ใหม่ขึ้นเป็นพุ่มแทน

การปลูกมะเดื่อฝรั่งไว้บริโภคผลสดในครัวเรือน
ชมรม เผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จ.พิจิตร ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับมะเดื่อฝรั่ง ทั้งต่างประเทศและในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องทำให้คนไทยมารู้จักมะเดื่อ ฝรั่งมากขี้น และมีการน้ำพันธุ์มะเดื่อฝรั่งเข้ามาปลูกในแปลงทดลองของทาง ชมรมฯ ที่ จ.พิจิตร มากกว่า 10 สายพันธุ์ตลอดระยะเวลาที่ได้ศึกษาและเก็บ ข้อมูลได้พบความมหัสจรรย์ของมะเดื่อฝรั่งมากมายหลายประการ จัดเป็นผลไม้ เพื่อสุขภาพที่เหมาะสมต่อการบริโภคทั้งผลสดและผลอบแห้ง
การดูแลรักษามะเดื่อฝรั่ง
มะเดื่อฝรั่งจัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณค่าทางอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุแคลเซียมและเหล็กสูง ช่วยส่งเสริมให้กระดูกแข็งแรง มีปริมาณไฟเบอร์สูงช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ในต่างประเทศจะมีการปลูกมะเดื่อฝรั่งไว้บริโภค ในครัวเรือนเพื่อให้คนในครอบครัวหรือผู้สูงอายุไว้เก็บผลมะเดื่อฝรั่งบริโภค ได้ทุกวัน ด้วยข้อดีที่เห็นชัดเจนของมะเดื่อฝรั่งอีกด้านหนึ่งคือ “ปลูกง่าย มีการดูแลน้อยและติดผลตลอดทั้งปี” มะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่ชอบแสงแดดจัดอากาศยิ่งร้อนเพียงใด มะเดื่อฝรั่งจะมีผลขนาดใหญ่สมบูรณ์มากเท่านั้น (เช่น สายพันธุ์ญี่ปุ่น, บราวน์ตุรกี, ออสเตรเลีย ฯลฯ)
โดยเฉพาะในบ้านเราช่วงเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน มะเดื่อฝรั่งยังมีรสชาติอร่อยมากรสชาติจะหวานจัด ขนาดผลใหญ่มาก มะเดื่อฝรั่งไม่ต้องมีการดูแลเรื่องโรคหรือแมลงเป็นพิเศษเลย จะมีศัตรูเพียง “นก” ที่มาจิกกินผลมะเดื่อฝรั่งระยะผลแก่ วิธีแก่ไขแสนจะง่ายเพียงใช้ถุงพลาสติกก๊อบแก๊บขนาดเล็กสุด ที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดนำมากรีดก้นถุงให้เป็นช่องระบายน้ำสัก 3-4 รู เพื่อระบายน้ำภายในถุง นำมาห่อมาห่อผลมะเดื่อฝรั่งช่วงที่เริ่มมีการเปลี่ยนสี นกจะไม่มารบกวนผลมะเดื่อได้แล้ว บำรุงด้วยปุ๋ยคอดหรือปุ๋ยเคมีบ้างตามความสมบรูณ์และความดกของผลมะเดื่อฝรั่ง เนื่องจากมะเดื่อฝรั่งจะสามารถติดผลและเลี้ยงผลได้ตลอดปีหมั่นรดน้ำอยู่ อย่างสม่ำเสมอ โดยสังเกตจากดินว่าไม่ควรปล่อยให้ดินแห้ง
การห่อผลมะเดื่อฝรั่ง ยก ตัวอย่าง เช่น สายพันธุ์ ระยะผลอ่อนจะมีสีเขียวเข้มจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนออกเหลือเมื่อผลใหญ่ขึ้น และเมื่อผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนจึงเริ่มห่อผลและเมื่อผลสุกแก่จะเป็นสี แดงเกือบทั้งผล เมื่อจับผลจะรู้สึกนิ่มมือก็สามารถเด็ดผลโดยใช้มือเด็ดก้านผลหรือใช้กรรไกร ตัดผลรับประทานได้ทั้งผลเลย มะเดื่อฝรั่งจะรับประทานได้ทั้งเปลือก
พื้นที่และการปลูกมะเดื่อฝรั่ง
ในการปลูกมะเดื่อฝรั่งคำถามที่มักจะได้การสอบถามมายังชมรมฯ อยู่เสมอ คือ ปลูกมะเดื่อฝรั่งจำ
เป็นต้องมีพื้นที่กว้างหรือไม่ทรงพุ่มใหญ่แค่ไหน คำตอบคือ ปลูกมะเดื่อฝรั่งไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ปลูกมากเลย ใช้ระยะปลูก 2×2 เมตร ก็เพียงพอแล้วมะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่อายุต้นยืนนานหลายสิบปี
เทคนิคกระตุ้นให้มะเดื่อฝรั่งออกลูกดกตลอดปี 
แต่การปลูกเลี้ยงให้ติดผลตลอดทั้งปีนั้น จะต้องมีการตัดแต่งกิ่งมะเดื่อฝรั่งอย่างสม่ำเสมอ หลังจากตัดกิ่งมะเดื่อได้ไม่นานต้นมะเดื่อฝรั่งจะแตกกิ่งใหม่ออกมา เมื่อกิ่งใหม่นั้นมีความยาวสัก 20-30 เซนติเมตร ก็มีการติดผลโดยทันทีตามซอกใบ ซึ่งลักษณะการติดผลของมะเดื่อฝรั่งจะติด 1 ผลต่อ 1 ใบ ต้นมะเดื่อฝรั่งไม่จำเป็นต้องอาศัยการบังคับด้วยสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น การเก็บผลมะเดื่อก็จะเก็บบริโภคได้ไปเรื่อยๆ จนเราไม่สามารถที่จะเอื้อมมือเก็บได้ก็จะถึงเวลาตัดแต่งกิ่งมะเดื่อฝรั่งให้ สั้นลง
** ดังนั้นตลอดระยะเวลาที่ปลูกเลี้ยงมะเดื่อฝรั่งที่ปลูกลงแปลงหรือในที่จำกัด เช่น กระถาง , วงบ่อซีเมนต์ หรือยางรถยนต์เก่า ต้นมะเดื่อจะโตเพียงลำต้นเท่านั้น(คล้ายๆ บอนไซ) พื้นที่จำกัดจึงไม่ใช้ปัญหาอุปสรรคสำหรับการปลูกมะเดื่อฝรั่งแต่อย่างใด

การปลูกมะเดื่อฝรั่งในยางรถยนต์เก่า
ทาง ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จ.พิจิตร จึงมีแนวทางการปลูกเลี้ยงมะเดื่อ ฝรั่งในครัวเรือนหรือในบ้านที่มีพื้นที่จำกัด เช่น บนดาดฟ้า, บ้านจัดสรร , ตึกแถวหรือระเบียงตึกที่มีแดดส่องถึง เพื่อหลายๆท่านสามารถนำไปประยุดต์ ใช้หรือนำไปปฏิบัติจริงได้อย่างไม่ยากนัก อย่างเช่น
การปลูกมะเดื่อฝรั่งในยางรถยนต์เก่า นี่ก็เป็นอีกแนวคิดที่ใช้วัสดุที่หาได้ ง่ายในท้องถิ่นอย่างยางรถยนต์เก่า ทั้งสามารถหาซื้อได้ในราคาถูกหรือให้กัน ฟรีๆ
วิธีการปลูกมะเดื่อฝรั่งในยางรถยนต์เก่า
1. เตรียมวัสดุปลูก ใช้ดิน 3 ส่วน เปลือกถั่วเขียว 2 ส่วน และปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน คุกเคล้าให้เข้ากัน โดยอาจจะประยุกต์ใช้ส่วนผสมของดินจากวัสดุทางการเกษตรในท้องถิ่นของท่านหรือ หาวัสดุเหล่านี้ไม่ได้ในเมืองใหญ่ก็เป็นดินผสมบรรจุถุงสำเร็จรูปที่มี ขายอยู่ทั่วไปก็ได้ โดยวัสดุปลูกที่ดีควรจะมีการระบายน้ำที่ดี สังเกตโดยเมื่อรดน้ำไปแล้วน้ำจะแห้งซึมลงไปได้เร็ว
2. ตัดพลาสติกที่มีความหนาพอสมควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด กว้างxยาว ประมาณ 50×50 เซนติเมตร เพื่อปูเป็นพื้นรองยางรถยนต์
3. นำยางรถยนต์เก่า 2 หรือ 3 เส้นมาล้างทำความสะอาดคราบน้ำมันหรือสิ่งสกปรกออก หากต้องการความสวยงามก็สามารถนำสีมาทาเพิ่มความสวยงามแก่ยางรถยนต์ เช่น สีขาว, แดง ฯลฯ
4. นำยางรถยนต์เก่ามาวางซ้อนกัน 2 เส้น หรือ 3 เส้นบนแผ่นพลาสติก
5. ใส่ปุ๋ยปลูกให้พูนเต็มวงยางรถยนต์จากนั้นใช้จอบหรือมือขุดให้หลุมมีขนาดเท่ากับตุ้มดินของต้นพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง
6. การย้ายต้นมะเดื่อฝรั่งลงในยางรถยนต์เก่านั้นก่อนทำการปลูกควรงดการให้น้ำ ต้นมะเดื่อฝรั่งสัก 1-2 วัน เพื่อให้ตุ้มดินแข็งจับกันเป็นก้อน ประโยชน์คือเมื่อฉีกถุงดำตอนย้ายปลูก ตุ้มดินจะไม่แตกออกจากรากต้นมะเดื่อฝรั่งเลย (เป็นอีกเคล็ดลับในการปลูกมะเดื่อฝรั่งหรือพันธุ์ไม้อื่นด้วยเวลาย้ายปลูก)
7. ปลูกต้นมะเดื่อฝรั่งให้อยู่ระดับตุ้มดินเดิม กลบดิน กดดินให้แน่นพอประมาณ ปักไม้หลัก มัดต้นมะเดื่อฝรั่งกับไม้หลักกับลมโยกต้น จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มก็เป็นอันเสร็จ การปลูกมะเดื่อฝรั่งในยางรถยนต์เก่าปลูก
การปลูกมะเดื่อฝรั่งในวงบ่อซีเมนต์
นับ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถทำกันได้ง่ายๆ แต่อาจจะมีต้นทุนในการซื้อวงบ่อ ซีเมนต์พร้อมฝาวงบ่อซีเมนต์ ยกตัวอย่าง วงบ่อซีเมนต์พร้อมฝา ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 180 เซนติเมตร ราคาประมาณ 200 บาท เป็นต้น
วิธีปลูกมะเดื่อฝรั่งในวงบ่อซีเมนต์
1. ปรับพื้นที่ให้เรียบวางแผ่นฝาวงบ่อซีเมนต์
2. ยกวงบ่อซีเมนต์วางบนแผ่นฝาวงบ่อ
3. ใส่ดินปลูกให้เต็มวงบ่อจนพูน
4. ใช้จอบหรือมือขุดหลุมให้กว้างเท่ากับขนาดของตุ้มดินจากต้นมะเดื่อฝรั่ง
5. ฉีกถุงดำออก ระวังอย่าให้ตุ้มดินแตก ปลูกให้อยู่ในระดับดินเดิมต้นมะเดื่อฝรั่ง กลบดิน กดให้แน่นพอประมาณ
6. ปักไม้หลัก ผูกต้นมะเดื่อฝรั่งกับไม้หลักให้แน่นพอประมาณ กันลมโยก รดน้ำให้ชุ่มก็เป็นอันเสร็จ
** หลังจากปลูกมะเดื่อฝรั่งแล้วราว 1-2 อาทิตย์ ต้นมะเดื่อฝรั่งก็จะสามารถตั้งตัวได้ จากนั้นจึงจะมีการเจริญทางกิ่งก้าน พร้อมกับการเติบโตผลโดยทันที ซึ่งควรมีการให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีออสโมโค้ทซึ่งเป็นปุ๋ยประเภทละลายช้าโรย ไปทั่ววงบ่อซีเมนต์หรือกระถาง แต่ระวังอย่าโรยให้ปุ๋ยชิดโคนต้นมะเดื่อฝรั่ง

การแปรรูปมะเดื่อฝรั่งและคุณค่าทางโภชนาการ
ชมรม เผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้ทดลองนำมะเดื่อฝรั่งพันธุ์บราวน์ตุรกีและ พันธุ์ออสเตรเลียมาทดลองอบแห้งในตู้อบผลไม้แบบลมร้อนโดยใช้อุณภูมิในการอบ เฉลี่ย 70-80 องศาเซลเซียสใช้เวลาอบนาน 10-12 ชั่งโมง
ผลปรากฎว่า ได้มะเดื่อฝรั่งอบแห้งที่มีรสชาติอร่อยและมีคุณลักษณะใกล้เคียงกับที่นำเข้า จากต่างประเทศ หลายคนที่ได้รับประทานถามว่าได้ใส่นำผึ้งหรือเพิ่มน้ำตาลไปด้วยหรือไม่ ความจริงแล้วเมื่อผลมะเดื่อฝรั่งแก่จัดเมื่ออบจนแห้งแล้วจะมีส่วนของน้ำที่ มีกลิ่นหอมคล้ายกับน้ำผึ้งที่มีกลิ่นแฉะเล็กน้อยออกมานอกผล ในเบื้องต้นสรุปได้ว่ามะเดื่อฝรั่งพันบราวน์ตุรกีและพันธุ์ออสเตรเลียนำมาอบ แห้งได้อย่างแน่นอนและทั้ง 2 สายพันธุ์ให้ผลผลิตดกมาก
** แต่เกษตรกรที่ปลูกจะต้องมีการตัดแต่งกิ่งเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะพันธุ์ออสเตรเลียจะต้องตัดต้นให้สูงจากพื้นดินเฉลี่ย 80 เซนติเมตร – 1 เมตร สำหรับพันธุ์บราวน์ตุรกีให้ตัดแต่งกิ่งแบบต้นน้อยหน่า ควรจะตัดแต่งในช่วงเดือนมิถุนายน เพื่อให้ต้นแตกกิ่งใหม่พร้อมให้ผลผลิตเก็บผลผลิตได้ในช่วงต้นฤดูหนาวเรื่อย มาจนถึงเดือนมีนาคม
“มะเดื่อฝรั่งอบแห้ง” ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งในการพัฒนาการปลูกมะเดื่อฝรั่งในประเทศไทยในขณะนี้
คุณค่าทางโภชนาการของมะเดื่อฝรั่ง
เมื่อผลมะเดื่อฝรั่งสุกมีกลิ่นหอมและพบสารระเหยที่ สามารถแยกแยะได้ถึง 10 ชนิด โดยมี Ethyl acetate เป็นส่วนใหญ่ เนื้อผลให้คุณค่าทางอาหารสูงและเป็นแหล่งพลังงานจากสารประกอบคาร์โบไฮเดรต ทั้งยังเป็นแหล่งอาหารประเภทให้เส้นใยที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการกำจัดของ เสียจากร่างกาย
เกลือโพแทสเซียมในกรดอินทรีย์ของมะเดื่อฝรั่งช่วยสร้างสมดุลระหว่างความเป็น กรดด่างในร่างกาย โดยไม่ให้เกิดกรดมากเกินไป นอกจากนี้ยังพบว่าภายในผลมีโปรตีน เอ็นไซม์ วิตามิน และเกลือแร่ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย และปริมาณก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เช่น ผลสุกของ kadote น้ำหนัก 100 กรัม มีแคลเซียม 32 มิลิกรัม
ซึ่งมากว่าผลไม้ชนิดชนิดอื่นที่ได้นำมาเปรียบเทียบ ผลมะเดื่อฝรั่งหรือสารสกัดที่ได้จากผลได้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ในรูปของ สารยับยั้งเซลล์มะเร็ง จะเห็นได้ว่ามีการบริโภคผลมะเดื่อทั้งแบบผลไม้แห้ง รับประทานสด และแปรรูปมาขึ้นทั่วโลก เนื่องจากผลไม้สุขภาพที่อุดมไปด้วยรสชาติ วิตามิน เกลือแร่ สารอาหารมากมาย และยังถูกจัดให้เป็นผลไม้เพื่อบำรุงร่างกายอีกด้วย

การปลูกมะเดื่อฝรั่ง ในพื้นที่โครงการหลวง เกษตรหลวงปางดะ
“มะเดื่อ ฝรั่ง” เป็นพืชสุขภาพอีกตัวที่กำลังได้รับความนิยมรับประทานเป็นอย่างมากใน ประเทศญี่ปุ่น วัตถุประสงค์หลักของโครงการในปัจจุบัน คือ เพื่อทดสอบลักษณะ พันธุ์ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาต่างๆสายพันธุ์ที่เรานำเข้ามาทดลองที่ ทั้มพันธุ์ที่ใช้รับประทานสดและแห้ง โดยใช้เงินจากงบประมาณ ปี 2549 และ 2550 ตอนนี้เราใช้สายพันธุ์ที่นำเข้ามาโดย โครงการ Exotic Fruit รวมทั้งการวิเคราะห์สารเคมีภายในผลมะเดื่อฝรั่งของเรา เปรียบเทียบกับของต่างประเทศ ตลอดจนศึกษาวิธีการอบแห้ง
เนื่องจากบ้านเรามีเชื้อรามาก และมะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่ให้ผลผลิตสูง จึงต้องมีการแปรรูปและศึกษารูปแบบให้ประหยัดที่สุด คือ วิธีอบหมาดคล้ายกล้วยทับหรือลูกพลับ ซึ่งคิดว่าถ้าบรรลุวัตถุประสงค์ทั้ 3 นี้ แล้วนำมาประกอบกันได้เราก็จะสามารถส่งเสริมเกษตรกรที่ปลูกได้ สjวนสายพันธุ์ที่ทางโครงการหลวงได้นำเข้ามาทดลองปลูกมีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ สายพันธุ์ Brown Turkey ซึ่งนิยมทานผลสด จัดเป็นพันธุ์ที่มีผลสีม่วงสวย มีปริมาณผลดกปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของไทยได้ดี
การปลูกมะเดื่อฝรั่งดั้งเดิมนั้นแพร่หลายอยู่ทาง ตะวันตกของทวีปเอเชีย ส่วนการปลูกในลักษณะการค้าของโลกอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอิตาลี โปรตุเกส สเปน ตุรกีและกรีซ บางสายพันธุ์สามารถปลูกได้ในแคลิฟฟอร์เนียนทางใต้ และพื้นที่แห้งแล้งของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่ามีการผลิตแห่งใหม่ ได้แก่ แอฟริกาใต้ มาดากัสกา อาร์เจนตินา และออสเตรเลีย เป็นต้น
** ปัจจุบันนี้มะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่มีการทดลองวิจัยกันเยอะมาก เช่น ใบก็นิยมใช้ทานเป็นอาหารกันมากในประเทศอินเดีย ตอนนี้ในประเทศญี่ปุ่นตื่นตัวกันมากโดยนำผลมะเดื่อฝรั่งมาช่วยในเรื่องระบบ การขับถ่ายเพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเมื่อคนเราขับถ่ายดี อัตราเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งลำไส้ก็จะลดน้อยลง
“มะเดื่อฝรั่งจึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เราไม่ได้ หวังให้เป็นพืชหวือหวา แต่อยากให้มองในแง่สุขภาพ ผลไม้ชนิดนี้มีประโยชน์มาก เป็นพืชที่ใช้บำรุงร่างกายมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันคนไทยมีระบบขับถ่ายที่มีปัญหามาก เนื่องจากการทานอาหารฟาสฟู้ดส์เข้าไปมากมาย อัตราการเป็นโรคก็เกิดมาขึ้น อย่างน้อยๆมะเดื่อฝรั่งจะเป็นพืชทางเลือกที่ปลูกไว้หลังบ้านไว้บำรุงสุขภาพ ไว้ดูแลสุขภาพกัน ซึ่งผลไม้ตัวนี้จะช่วยได้มากในเรื่องของการระบายทั้งผลสดและผลแห้ง อีกทั้ง คุณสมบัติทางการแพทย์ก็มีมากมายอีกด้วย” ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึง ความสำคัญของคุณค่าของมะเดื่อฝรั่งในแง่ของนักวิจัย พยายามทำความเข้าใจในทุกมิติของพืชชนิดนี้ เพื่อให้บรรลุตามแนวทางปฏิบัติของ “มูลนิธิโครงการหลวง” ภายใต้เบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯคงไม่ต้องสนใจว่าน่าสนใจตาม เพียงใด และหลังจากที่เราได้รับคำชี้แจงจากท่าน ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ ที่ต้องทึ่งในความ มหัศจรรย์กล่าว คือ มะเดื่อฝรั่งคือ Fig (Ficus Carica) เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางที่นิยมปลูกกันมานานหลายศตวรรษแล้ว จัดอยู่ในวงศ์ Moraceae เช่นเดียวกับพืชในตระกูลหม่อน (Mulberry) มีการนำผลมาบริโภคทั้งในแบบผลไม้สดและแปรรูปมากมาย เช่น ผลไม้แห้งบรรจุภาชนะต่างๆ และแยม เป็นต้น
การศึกษาสายพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง
ในประเทศไทยนั้น มูลนิธิโครงการหลวงและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (โดยงานเกษตรที่สูงในขณะนั้น) ได้มีการนำต้นพันธุ์มะเดื่อฝรั่งจากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกและศึกษาวิจัย มาเกื่อบ 25 ปีแล้ว เพื่อวัตถุประสงค์ในการหาพืชที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวไทยภูเขาทดแทนการ ปลูกฝิ่นทางภาคเหนือ
หลังจากงานวิจัยเสร็จสิ้นและพบว่ามะเดื่อฝรั่งบางสายพันธุ์ได้แก่ Conadria, Beall, Brown Turkey และ Purplish Black เป็นต้น สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้อย่างน่าพอใจให้ผืนแผ่นดินไทยแม้จะประสบ ปัญหาเกี่ยวโรคแมลงในแปลงทดลองบ้างก็ตาม อย่างไรก็ตามยังมีการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายภาควิทยา และการเจริญเติบโตของมะเดื่อฝรั่งอีก 2 สายพันธุ์ ได้แก่ White Marseilles และ Dauphine ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเวลาต่อมาเพิ่มเติมมากขึ้น
นอกจากนี้ในปี พ.ศ 2547 ได้ มีการนำต้นมะเดื่อเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นอีก 5 สายพันธุ์โดยฝ่ายไม้ผลของมูลนิธิโครงการหลวงได้แก่ สายพันธุ์ Kedota, Lisa, Sugar, Dauphine และ Brown Turkey โดยปลูกไว้ที่สถานีเกษตรหลวงปางดะเพื่อทำการขยายพันธุ์ ปัจจุบันยังพบว่าสายพันธุ์ Black Genoa, Brown Turkey และ Conadria ปลูกเพื่อเก็บรักษาต้นพันธุ์ไว้ในแปลงทดลองของสถานีเกษตรหลวงอ่างขางและสถาน นีวิจัย โครงการหลวงอินทนนท์ (หน่วยวิจัยย่อยขุนห้วยแห้งอยู่อีกจำนวนหนึ่ง)
ลักษณะทางพฤกษศาตร์ของมะเดื่อฝรั่ง
ลำต้นและเนื้อไม้ที่อ่อนที่แยกหลุดออกได้ง่ายและไม่พบส่วนที่เป็น pith อยู่ ใบมีความหนาและค่อนข้างแข็ง ลักษณะใบเดี่ยว ส่วนใหญ่ขอบใบหยักลึก 3-5 หยัก แต่ก็อาจพบมีลักษณะที่ตรงไม่หยักทำให้ภายในลำต้นเดียวกันมีรูปร่างใบได้หลาย แบบและมีลักษณะหนึ่งในการจำแนหสายพันธุ์ได้ ก้ารใบที่อยู่ในพื้นที่ร่มจะมีความยาวกว่าส่วนที่อยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง สีของก้านใบจะมีความสัมพันธ์กับสีของผลและตายอด ดอกมีขนาดเล็ก มีสามประเภท ได้แก่ ดอกตัวเมียที่มี style ยาว ดอกตัวเมียมี style สั้น (ดอกทั้งสองชนิดสามารถเกิดการผสมเกสรและเจริญต่อไปเป็นผลได้) และดอกตัวผู้ ผลของมะเดื่อฝรั่งไม่ใช่ผลจริงแต่เป็น Synconium หรือ ฐานรองดอกที่มีส่วนประกอบของช่อดอกมีก้านโค้งเข้าหากันจัดเป็นผลไม้ขนาดเล็ก ที่มีเมล็ดเดี่ยว จัดเรียงกันอยู่ด้านในของก้ารช่อดอก รูปร่างของผลมีหลายรูปแบบเช่น กลวงโบ๋ (Hollow) ทรงกลม (Glbular) หรือทรงกลมระฆังเหมือนลูกแพร์ มีขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันส่วนมากเมล็ดจะมีลักษณะแบน จะมี endocarp ห่อหุ้ม ทำให้มีความแข็งเล็กน้อยซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพืชชนิดนี้และเป็นต้นไม้ที่ มีอายุยืนยาวมากกว่า 100 ปี ในทางการค้าเราสามารถจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 10 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและสภาพอากาศ และการดูแลที่เหมาะสม
** มะเดื่อฝรั่งสามารถให้ผลผลิตได้ 1-2 ครั้งต่อปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูกในฤดูใบไม้ผลิ ผลรุ่นที่หนึ่งจะพัฒนามาจากตาที่เกิดจากกิ่งปีที่แล้ว ส่วนผลรุ่นที่สองจะเกิดจากกิ่งที่กำลังเจริญเติบโตช่วงเวลาถัดมาและพบว่ามี จำนวนมากกว่าชุดแรก
สายพันธุ์มะเดื่อฝรั่งที่มีการนำมาทดลองวิจัยในโครงการ มีหลากหลายสายพันธุ์ ได้แก่
- พันธุ์ Brown Turkey เป็นพันธุ์ที่ปลูกกันมากที่สุด ผลมีขนาดใหญ่ รับประทานสดผลผลิตชุดแรกมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้ม ผลชุดหลังมีขนาดเล็กกว่า เนื้อผลสีชมพูอ่อนๆ ต้นมีขนาดเล็ก ถ้ามีการตัดแต่งมากจะมีผลกระทบต่อผลผลิต
- พันธุ์ Celeste ผลออกสีแดงปนม่วง เนื้อเหลืองอำพันเหมือนสีดอกกุหลาบ รับประทานสด เป็นพันธุ์ที่แนะนำให้ปลูกโดยทั่วไปต้นมีความแข็งแรง
- พันธุ์ Kadota ผิวผลมีความเหนียว และสีเหลืองเขียวผลผลิตชุดแรกมีรสชาติที่ดีกว่า เป็นพันธุ์ที่ใช้ในการอบแห้งและแปรรูป ต้นมีคามแข็งแรงปกติไม่มีเมล็ด (Seedless)
- พันธุ์ Conadria มีต้นกำเนิดแถบริมแม่น้ำในแคลิฟนร์เนีย ผลมีผิวบางและสีขาวเจือม่วง เนื้อผลสีขาวถึงแดงไม่เน่าง่าย ต้นมีความแข็งแรงสามารถปลูกในพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงได้
- พันธุ์ Dauphine ปลูกในฝรั่งเศส ใช้บริโภคผลสด ทนทานต่อการขนส่ง ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ ผิวเป็นมัน ในสภาพกลางแจ้งผิวสีม่วงเข้มและในร่มสีม่วงออกสีเขียวเนื้อหนา คุณภาพดีผลรุ่นสองมีขนาดปานกลาง
ลักษณะนิสัยของมะเดื่อฝรั่ง
นอกจากมะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่มีรสชาติอร่อยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ยังเป็นพืชที่มีทรงต้นสวย มีความสูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร และมีระบบรากตื้น ซึ่งนอกจากใช้ปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ยังใช้จุดประสงค์สำหรับการตกแต่งสถานที่ได้อีกด้วย ในสภาพพื้นที่อบอุ่นจะไว้ลำต้นเดียวหรืดหลายลำต้น และใช้ระยะห่างในการปลูก 6-7.5 เมตร ทำให้ง่ายต่อการตัดแต่งทรงพุ่มให้มีขนาดความต้องการ โดยการตัดแต่งกิ่งและจัดทรงต้นของทางสถานีฯ จะใช้วัสดุโน้มกิ่งไปตามทิศทาง เหนือ-ใต้ พร้อมการค้ำยัน และการตัดแต่งกิ่งหลักเพื่อให้ได้ผลผลิตตลอดปี และเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้มากขึ้น
มะเดื่อฝรั่งจัดเป็นพืชที่ต้องการความหนาวเย็นที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 7 อาศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่ถึง 300 ชั่วโมง เพื่อที่จะให้ต้นผ่านการพักตัว เพราะในการปลูกต้นมะเดื่อฝรั่งนั้นต้องใช้ต้นที่ผ่านการพักตัวและมีความสูง ไม่น้อยกว่า 10-12.5 เซนติเมตร อาจเป็นต้นที่ห่อหุ้มรากด้วยวัสดุปลูกที่ได้จากการขยายพันธุ์ในภาชนะหรือ เป็นต้นแบบ มัว้สดุปลูกติดราก (Bareroot) ก็ได้โดยสามารถทนทานต่อความหนาวเย็นหรือน้ำค้างแข็งได้ดี แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำถึง -5 ถึง – 10 องศาเซลเซียส ก็อาจจะทำให้ลำต้นตายลงถึงระดับพื้นดินได้ ในช่วงระยะปลูก 2 ปีแรก ลำต้นควรได้รับการให้น้ำทุกอาทิตย์ โดยเฉพาะในสภาพพื้นที่แห้ง ในพื้นที่ที่มีอากศเย็นกว่าควรหยุดใช้น้ำหลังจากการเก็บเกี่ยวเพื่อให้เข้า สู่ระยะการพักตัวที่เร็วขึ้นส่วนการให้ปุ๋ยจะมีความแตกต่างกันไปตามสภาพ พื้นที่ที่ทำการปลูก โดยตรงระวังการให้ปุ๋ยไนโตรเจนที่มากเกินไปซึ่งจะให้ใบสีเขียวเข้มและไม่ให้ ผลผลิตรวมทั้งเทคนิคการทำให้พัฒนาการของผลสามาถรเกิดผลขึ้นได้ดีนั้น ก็ต้องมีช่วงเวลาที่แห้งและอบอุ่นเป็นเวลานานหลายเดือน
การเก็บเกี่ยวและการแปรรูป
ส่วนการเก็บผลผลิตควรเก็บผลที่เปลี่ยนจาดสีเขียวเป็นน้ำตาล ซึ่งเนื้อข้างในจะนิ่มและหวาน ถ้าปล่อยให้สุกบนต้นจะมีปัญหาจากนกที่มากิน อย่างไรก็ดีสีผิวของผลที่สุกในแต่ละสายพันธุ์จะมีความแตกต่างกันไป เช่น Adriatic สีขาว, Kadota สีเขียว, Calimyma สีน้ำตาล และ Black Mission สีดำ เป็นต้น ผลอาจทำให้แห้งแล้งเก็บเกี่ยวและเก็บได้นานกว่า 6 เดือน ปัจจุบันพบว่าผลผลิตทั่วโลกประมาณ 90% จะทำเป็นผลไม้อบแห้ง สำหรับเทคนิคการทำผลผลิตแบบผลไม้อบแห้งนั้น จะต้องเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูใบไม้ร่วงโดยปล่อยให้ผลสุกเต็มที่และหล่นลงบน พื้นที่แห้งซึ่งในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาจะใช้การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจัก ต่อจากนั้นจะผ่านกระบวนการทำความสะอาด การล้าง การคัดเลือก การทำให้แห้งและการบรรจุหีบห่อ ก่อนส่งจำหน่ายยังตลาด ถ้าหากมีความชื้นเกิน 27% จะต้องพ่นด้วยสารละลาย Potassium sorbate ความเข้มข้น 200-300 ppm เพื่อลดปริมาณการเกิดราสีเทาและเชื้อยีสต์
** นอกจากนั้นหากได้รับประทานเป็นผลไม้สดโดยการเก็บเกี่ยวจากต้น ก็ต้องมีการคัดเลือก บรรจุลงภาชนะอย่างระมัดระวังและเก็บเกี่ยวที่มีความเย็นก่อนถึงตลาดผู้ บริโภค มีปริมาณน้อยมากที่จะบรรจุลงในกระป๋องหรือทำการแปรรูปส่วนใหญ่ แต่การทานผลสดจะให้ประโยชน์มากกว่าในแง่ของสุขภาพ
ทิศทางและแนวโน้มของมะเดื่อฝรั่งในอนาคต
เนื่องจากมะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่มีความต้องการความหนาวเย็นไม่มากนัก ในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตโดยสามารถปลูกในระดับความสูง 600-800 เมตรจากน้ำทะเลได้ จากผลการทดลองที่เคยศึกษามาแล้วในประเทศไทนรวมทั้งปัจจุบันถูกจัดไว้เป็น ประเภทผลไม้รับประทานได้ทั้งสดและแห้ง เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของร่างกายมนุษย์ จึงคาดว่าน่าจะเป็นผลไม้ทางเลือกเสริมรายได้อีกชนิดหนึ่งสำหรับการเกษตรบน พื้นที่สูงในอนาคตอันใกล้นี่แน่นอน
** อย่างไรก็ตามมูลนิธิโครงการหลวงก็ยังไม่ได้นำข้อมูลดังกล่าวออกมาส่งเสริม ให้ชาวสวนปลูกเป็นการค้า อันเนื่องมาจากยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในบางประการ ตลอดจนต้องศึกษาและปรับพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยต่อผลไม้ชนิดนี้ให้เกิดการ รับรู้และยอมรับมากยิ่งขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะเดื่อฝรั่ง
เมื่อผลมะเดื่อฝรั่งสุกมีกลิ่นหอมและพบสารละเหยที่สามารถแยกแยะได้ถึง 10 ชนิด โดยมี
Ethyl acetate เป็นส่วนใหญ่
เนื้อผลให้คุณค่าทางอาหารสูงและเป็นแหล่งพลังงาน จากสารประกอบคาร์โบไฮเดรต ทั้งยังเป็นแหล่งอาหารประเภทให้เส้นใยที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการกำจัดของ เสียจากร่างกาย เกลือโพแทสเซียมในกรดอินทรีย์ของมะเดื่อฝรั่งช่วยสร้างสมดุลระหว่างความเป็น กรดด่างในร่างกาย โดยไม่ให้เกิดกรดมากเกินไป
นอกจากนี้ยังพบว่าภายในผลมีโปรตีน เอ็นไซม์ วิตามิน และเกลือแร่ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย และปริมาณก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เช่น ผลสุกของ kadote น้ำหนัก 100 กรัม มีแคลเซียม 32 มิลิกรัม ซึ่งมากว่าผลไม้ชนิดชนิดอื่นที่ได้นำมาเปรียบเทียบ ผลมะเดื่อฝรั่งหรือสารสกัดที่ได้จากผลได้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ในรูปของ สารยับยั้งเซลล์มะเร็ง จะเห็นได้ว่ามีการบริโภคผลมะเดื่อทั้งแบบผลไม้แห้ง รับประทานสด และแปรรูปมาขึ้นทั่วโลก เนื่องจากผลไม้สุขภาพที่อุดมไปด้วยรสชาติ วิตามิน เกลือแร่ สารอาหารมากมาย และยังถูกจัดให้เป็นผลไม้เพื่อบำรุงร่างกายอีกด้วย
ขอบคุณบทความจาก:taradkaset.com

ความคิดเห็น